วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

วันวิทยาศาสตร์





               วันวิทยาศาสตร์

                 

               สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยเฉพาะทางด้านดาราศาสตร์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคมเป็นวันวิทยาศาสตร์ไทย ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2511 หลายหน่วยงาน เช่น สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ กรมอุทกศาสตร์ กรมชลประทาน กรมแผนที่ทหาร กรมอุตุนิยมวิทยา กรมไปรษณีย์โทรเลข ฯลฯ ได้ร่วมกันจัดงานขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

               พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงสนพระทัยวิชาคณิตศาสตร์และวิชาดาราศาสตร์ในตำราโหราศาสตร์ของไทย ในที่สุดพระองค์ทรงได้ค้นคิดวิธีการคำนวณปักข์ (ครึ่งเดือนทางจันทรคติ) เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวันธรรมสวนะ (วันพระ) ให้ถูกต้องตามการโคจรของดวงจันทร์ที่เรียกว่า "ปฏิทินปักขคณนา" (ปักขคณนา คือ วิธีนับปักข์หรือรอบครึ่งเดือนของข้างขึ้นข้างแรม เป็นวิธีนับที่แม่นยำสูง) และทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ทำปฏิทินจันทรคติพระทุกปี แทนปฏิทินฆราวาส ขณะเดียวกันพระองค์ได้ทรงค้นคิดสูตรสำเร็จในการคำนวณปักข์ออกมาในรูปกระดาน ไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อจะได้วันพระที่ถูกต้องโดยไม่ต้องเสียเวลาคำนวณ และมีชื่อเรียกว่า "กระดานปักขคณนา" ซึ่งปัจจุบัน ยังคงมีให้เห็นในวัดสายธรรมยุต. เช่น วัดราชาธิวาส พระปรีชาสามารถด้านดาราศาสาตร์นั้นน่าจะเริ่มตั้งแต่ทรงทอดพระเนตรดาวหางเมื่อทรงพระเยาว์. ซึ่งพระองค์ยังได้ทรงออกประกาศแจ้ง ชื่อ ประกาศดาวหางขึ้นอย่าได้วิตก เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ไม่ให้เชื่อตามคำเล่าลือที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น.ซึ่งนับเป็นประกาศทางวิทยาศาสตร์ฉบับแรกของประเทศ






การเข้าค่ายคุณธรรม


การเข้าค่ายคุณธรรม

การเข้าค่ายคุณธรรมฯของนักเรียนชั้น ม.3 และ ม.6 ปีการศึกษา 2560 ระหว่างวันที่ 19-21 มิถุนายน 2560 ณ วัดโคก จ.ตราด



ศธ.ปลูกป่าร่วมใจ ทำดีเพื่อพ่อ



ศธ.ปลูกป่าร่วมใจ ทำดีเพื่อพ่อ


             โครงการ ศธ.ปลูกป่าร่วมใจทำดีเพื่อพ่อ เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วันที่ 14 กรกฎาคม 2560 ณ โรงเรียนตราดสรรเสริญวิทยาคม


teenergy กฟผ


teenergy กฟผ


        กฟผ. เป็นรัฐวิสาหกิจด้านกิจการพลังงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน กระทรวงการคลัง ดำเนินธุรกิจหลักในการผลิต จัดให้ได้มา และจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ผู้ใช้ไฟฟ้าตามกฎหมายกำหนดและประเทศใกล้เคียง พร้อมทั้งธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการไฟฟ้าภายใต้กรอบพระราชบัญญัติ กฟผ.
ธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าในธุรกิจใหญ่

การผลิตไฟฟ้า       กฟผ. ผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ซึ่งตั้งอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 40 แห่ง มีกำลังผลิตรวมทั้งสิ้น 15,010.13 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าหลายประเภท ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังความร้อน 3 แห่ง โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม 6 แห่ง โรงไฟฟ้าพลังน้ำ 22 แห่ง โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 8 แห่ง และโรงไฟฟ้าดีเซล 1 แห่ง

การรับซื้อไฟฟ้า          นอกจากการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าของ กฟผ. แล้ว กฟผ. ยังรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ 11 ราย รวมกำลังผลิต 12,741.69 เมกะวัตต์ และผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก รวมกำลังผลิต 2,444.60 เมกะวัตต์ รวมทั้งรับซื้อไฟฟ้า จากผู้ผลิตไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สปป.ลาว และมาเลเซีย รวมกำลังผลิต 2,404.60 เมกะวัตต์

การส่งไฟฟ้า         กฟผ. ดำเนินการจัดส่งไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าของ กฟผ. และที่รับซื้อจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายอื่นผ่านระบบส่งไฟฟ้าของ กฟผ. ซึ่งมีโครงข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ ที่ระดับแรงดัน 500 กิโลโวลต์ 230 กิโลโวลต์ 115 กิโลโวลต์ และ 69 กิโลโวลต์ เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ กฟน. กฟภ. และผู้ใช้ไฟฟ้าที่รับซื้อโดยตรง นอกจากนี้ กฟผ. ยังจำหน่ายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าของประเทศเพื่อนบ้านด้วย ได้แก่ สปป.ลาว ด้วยระบบส่งไฟฟ้าแรงดัน 115 กิโลโวลต์ และ 22 กิโลโวลต์ และมาเลเซียด้วยระบบไฟฟ้าแรงสูงกระแสตรง (HVDC) 300 กิโลโวลต์



งานวันวิชาการ



งานวิชาการ

หลักการและเหตุผล
ฝ่ายวิชาการได้ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม และกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดทำนวัตกรรม เกม และผลงานอื่น ๆ ทั้งของผู้เรียนและครูผู้สอน จึงควรได้เผยแผ่ความรู้และผลงานของวิชาการให้ทั้งครูผู้สอน ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้สนใจอื่น ๆ ทั้งภายในและภานนอกโรงเรียน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิชาการของโรงเรียน
2. เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการศึกษา
3. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนสนใจและค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
4. เพื่อประชาสัมพันธ์กิจการด้านการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน
5. เพื่อให้นักเรียนมีโอกาสแสดงความรู้ความสามารถของตนเองและเห็นตัวอย่างความสามารถของเพื่อนนักเรียนคนอื่น ๆ